3.09.2558

มารู้จักสัทธอักษรพินอินกันเถอะ

สัทอักษร (พินอิน)
ที่มาและความสำคัญของสัทอักษร(พินอิน)
     อักษรจีนเป็นอักษรภาพ ไม่ได้เกิดจากการประสมพยัญชนะแบบภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ 
กล่าวคือ ในขีดแต่ละขีดของอักษรจีนนั้น ไม่มีการแสดงถึงการออกเสียง การเรียนรู้ภาษาจีนจึง
ต้องอาศัยเครื่องหมายกำกับการออกเสียง เพื่อช่วยในการเรียนการสอนภาษาจีน และเพื่อให้
การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและสะดวกมากยิ่งขึ้น ประเทศสาธารณรัฐประชนจีนจึงได้พัฒนา
และประกาศให้ใช้ระบบอักษรกำกับการออกเสียงใหม่สำหรับอ่านอักษรจีนขึ้น 
ซึ่งภาษาจีนเรียกว่า 汉语拼音 (สัทอักษร หรือ Phonetic)  
ส่วนประกอบของพินอิน
            คำในภาษาจีนกลาง ประกอบด้วย พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. เสียงพยัญชนะ
1.1 เสียงพยัญชนะต้นของภาษาจีนมี 23 เสียงดังนี้             
พินอิน
อ่าน
แทนเสียง

พินอิน
อ่าน
แทนเสียง
b
โป

p
โพ
m
โม

f
โฟ
d
เตอะ

t
เธอะ
ธ,ท
n
เนอะ

l
เลอะ
g
เกอ

k
เคอ
h
เฮอ

j
จี
q
ชี

x
ซี
z
จือ

c
ชือ
s
ซือ

zh
จรือ
จร
ch
ชรือ
ชร

sh
ซรือ
ซร
r
ยรือ
ยร

          

1.2 เสียงพยัญชนะกึ่งสระมี 2 เสียง คือ         

พินอิน
อ่าน
แทนเสียง

พินอิน
อ่าน
แทนเสียง
y
อี

w
อู
   
2. เสียงสระ
            1. สระเดี่ยว  มี 6 เสียงดังนี้

พินอิน
อ่าน
แทนเสียง

พินอิน
อ่าน
แทนเสียง
a
อา
-า

o
โอ
โ-
e
เออ
เ-อ

i
อี
u
อู

ü
อวี
-วี

            2. สระประสม
พินอิน
อ่าน
แทนเสียง

พินอิน
อ่าน
แทนเสียง
ai
ไอย
ไ-ย

ei
เอย
เ-ย
ao
อาว
-าว

ou
โอว
โ-ว
an
อาน
-าน

en
เอิน
เ –ิ น
ang
อาง
-าง

eng
เอิง
เ –ิ ง
ong
อง
-ง

ia
เอียะ
เ –ี ยะ
*ie
เอีย
เ –ี ย

in
อิน
–ิ น
iao
เอียว
เ –ี ยว

iu
อิว
–ิ ว
ian
เอียน
เ –ี ยน

iang
เอียง
เ –ี ยง
ing
อิง
–ิ ง

iong
อีอง
–ีอง
ua
อวา
-วา

uo
อวอ
-วอ
uai
อวาย
-วาย

ui
อุย
-ุ ย
uan
อวาน
-วาน

un
อูน
- ูน
uang
อวาง
-วาง

ueng
เอวิง
เ-วิง
*üe
เอวีย
เ-วีย

üan
เอวียน
เ-วียน
ün
อวิน
-วิน

**er
เออ-ร
เออ-ร
  
 * หากสระ e (เออ) ตามท้ายสระตัวอื่นจะออกเสียงเป็นสระ ê (เอ) 
            ** -  r ด้านท้ายนั้นกำกับไว้เพื่อแสดงว่าเป็นเสียงที่จำเป็นต้องม้วนหดลิ้นให้ยกขึ้นไปแตะบริเวณเพดานแข็ง
กรณีที่มีเสียงพยัญชนะท้าย คือ - n หรือ - ng ตามหลังเสียงสระ เสียง - n จะเทียบได้กับเสียง แม่กนในภาษาไทย และ - ng จะเทียบได้กับเสียง แม่กงในภาษาไทย
ในบรรดาสระเดี่ยว 6 เสียง จะมีอยู่ 2 เสียง คือ เสียงสระ i (อี) และ u (อู) ที่ไม่สามารถใช้เป็นสระขึ้นต้นพยางค์ตามลำพังได้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีพยัญชนะกึ่งสระ y (อี) และ w (อู) มาช่วยกำกับแทนที่สระ i (อี) และ u (อู)  เช่น
i                   ---                    yi (อี)    
ian               ---      yan (เยียน)
      in                ---                       yin (ยิน)        
u                   ---                    wu (อู)  
ua                  ---       wa (อวา)
uo                  ---                    wo(อวอ)   ป็นต้น

 3. วรรณยุกต์
            วรรณยุกต์ของจีนมีทั้งสิ้น 4 เสียงโดยแต่ละเสียงจะใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์และมีชื่อเรียกเฉพาะ คือ เสียงที่ 1 เสียงที่ 2 เสียงที่ 3 และ เสียงที่ 4  เมื่อเทียบกับภาษาไทย สามารถเทียบเสียงได้ดังนี้              

เสียงที่ 1
เสียงที่ 2
เสียงที่ 3
เสียงที่ 4
ā
á
ǎ
à
สามัญ
อา
อ๋า
อ่า
อ้า


กฎของการเติมวรรณยุกต์
1.  เครื่องหมายวรรณยุกต์จะใส่ไว้ตรงสระเท่านั้น ห้ามใส่ไว้บนพยัญชนะ
2. ห้ามใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ไว้บน –n  –ng

3. ตำแหน่งการใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ จะใส่ไว้ตามลำดับสระพี่น้องดังนี้
ตัวอย่าง
 1 ( คนโต )
2
3
4 ( ฝาแฝด )
5
a
o
e
i
u
ü


bāo     gěi    liè   nüē   tū
4.  กรณีที่เป็นสระ i (อี) ให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ทับจุด  เช่น   
5.  กรณีที่เป็นสระ ü (อวี) ให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ไว้ข้างบนจุดจุด  เช่น    
6. กรณีที่เป็นสระฝาแฝด (i,uให้วางวรรณยุกต์ไว้ที่สระด้านหลังเสมอ  เช่น
duī    diū 
7. กรณีที่เสียงวรรณยุกต์เสียงที่ 3 เจอเสียงวรรณยุกต์เสียงที่ 3 ด้วยกัน เสียงข้างหน้าจะเปลี่ยนเป็นเสียงที่ 2  เช่น         
*  ˇˇ   =          ´ˇ
    nǐhǎo                ออกเสียงเป็น        níhǎo (สวัสดี)
            หนี่ห่าว                                                                        หนี ห่าว 

 *       ˇˇˇ   =       ˇ´ˇ/ ´´ˇ
   wǒ hěn hǎo     ออกเสียงเป็น   wǒ hén hǎo
   หว่อ  เหิ่น   ห่าว                             หว่อ  เหิน  ห่าว        
  
หรือ     wó hén hǎo  (ฉันสบายดีมาก)
                    หว๋อ   เหิน ห่าว

 *  ˇˇˇˇ     =     ´ˇ´ˇ
 wǒ yě hěn hǎo    ออกเสียงเป็น    wó yě hén hǎo
   หว่อ  เย่  เหิ่น ห่าว                                   หว๋อ เย่ เหิน ห่าว
 (ฉันก็สบายดีเหมือนกัน)